ออติวา (ortiva)

ออติวา ขนาด 500ซีซี
ชื่อสามัญ: .ไดฟีโนโคนาโซล
(difenoconazole).อะซอกซีสโตรบิน (azoxystrobin)
ทะเบียนวัตถุอันตรายเลขที่ 223 -2554
(ทะเบียนหมดอายุวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566)

กลุ่มสารเคมี : Triazole + Strobilurin type : Methoxyacrylate [กลุ่ม 3+11]

จุดเด่น ออติวา ออติวา คุ้มครองและปกป้องคุณภาพผลผลิต ด้วยสูตรน้ำ ออกฤทธิ์กว้างขวางในการป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด ทั้งพืชผัก ผลไม้ และนาข้าว ด้วยสารออกฤทธิ์สองชนิด ทำให้ออติวาให้ผลในการป้องกันกำจัดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ ปลอดภัยต่อพืชทุกระยะ ดูดซึมได้เร็ว รวมถึงช่วยรักษาคุณภาพของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว

พืชปลูก และ อัตตาการใช้ : พริก
โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Colletotrichum capsici

อัตรา: 10 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร

วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค พ่นซ้ำทุก 7 วัน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โรคใบไหม้แผลใหญ่ (northern corn leaf blight)
ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Exserohilum turcicum
อัตรา: 5-10 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร
วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 10 วัน
ข้าวโพดหวาน โรคใบไหม้แผลใหญ่ (northern corn leaf blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Exserohilum turcicum

อัตรา: 5-10 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร
วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 10 วัน มันฝรั่ง ใช้ป้องกันกำจัด โรคใบไหม้ (late blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora infestans

อัตรา: 25 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร

วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 5 วัน
ข้าว ใช้ป้องกันกำจัด โรคเมล็ดด่าง (dirty panicle) ในข้าว ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Bipolaris oryzae, Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Fusarium incarnatum, Sarocladium oryzae และ Trichoconis padwickii

อัตรา: 10-15 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่)
วิธีการ: พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกในระยะข้าวตั้งท้อง และครั้งที่สองในระยะข้าวออกรวง 5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ป้องกันกำจัด โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown spot) ในข้าว ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Bipolaris oryzae

อัตรา: 10-15 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่)

วิธีการ: พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 10 วัน
ใช้ป้องกันกำจัด โรคกาบใบแห้ง (sheath blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris) อัตรา: 10-15 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่) วิธีการ: พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 10 วัน
ใช้ป้องกันกำจัดโรคกาบใบเน่า (sheath rot) โรคกาบใบเน่า (sheath rot) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Sarocladium oryzae

อัตรา: 15-20 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร
วิธีการ: พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 14 วัน

มะม่่วง โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
อัตรา: 10 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร
วิธีการ: พ่นครั้งแรกเมื่อมะม่วงติดผลอ่อนขนาด 0.5เซนติเมตร พ่นซ้ำทุก 7 วัน จนถึงระยะห่อผล

องุ่น โรคสแคป (scab) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum
อัตรา: 10 – 15 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร
วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำ ทุก 4 วัน

ลำไย โรคใบจุดดำ (blackspot) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
อัตรา: 5 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร
วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค

หอมหัวใหญ่ โรคใบจุดสีม่วง (purple blotch) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria porri
อัตรา: 5 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร
วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน

วิธีเก็บรักษษและคำเตือน ข้อความแสดงข้อควรระวัง วิธีเก็บรักษา : ต้องเก็บ ออติวา ในภาชนะเดิมที่ปิดแน่น มีฉลากติดอยู่ และไม่ให้ถูกแสงแดด สถานที่เก็บต้องแห้งและเย็น ห่างไกลจากเด็ก อาหาร น้ำดื่ม สัตว์เลี้ยงและเปลวไฟ คำเตือน : ออติวา เป็นวัตถุอันตรายต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เป็นอัตรายต่อผู้ใช้และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

ผู้ใช้ต้องปฏิบัติดังนี้ : 1. ห้าม ดื่มน้ำ กินอาหาร หรือสูบบุหรี่ในขณะปฏิบัติงาน ห้าม เทสารที่เหลือ หรือล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ เครื่องพ่นสารลงในแม่น้ำ ลำคลอง หรือบริเวณใกล้เคียง เมื่อใช้สารฯ หมดแล้ว ห้าม ใช้ไฟเผาภาชนะบรรจุ หรือนำกลับไปใช้อีก ห้าม เด็ก และผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่กำลังพ่นสาร
2. ขณะผสม ต้อง สวมถุงมือยาง และหน้ากากเพื่อป้องกันมิให้สารเข้มข้นถูกผิวหนัง และกระเด็นเข้าตา การผสมให้ใช้ ไม้กวน ขณะพ่นสาร ต้อง อยู่เหนือลมเสมอ และควรสวมถุงมือยาง และหน้ากาก ต้อง ล้างมือ และหน้าให้สะอาดด้วย สบู่ และน้ำก่อนกินอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ หลังจากทำงานเสร็จแล้ว ต้อง อาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าและซักชุดที่สวมทำงานให้สะอาด ภาชนะบรรจุเมื่อใช้หมดแล้วให้กลั้ว ล้างด้วยน้ำ 3 ครั้ง และรวมเอาน้ำล้างไปใช้ผสมพ่นสาร กำจัดภาชนะบรรจุโดยทำลายแล้วฝังดิน หรือรวมทิ้งให้ปลอดภัย
3. ระวัง อย่าให้เข้าปาก ตา จมูก หรือถูกผิวหนัง และเสื้อผ้า
4. การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ซึ่งอยู่ในหมายเลขกลุ่มเดียวกัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดความ ต้านทานของเชื้อสาเหตุโรคพืช
5. ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตา
6. เป็นพิษต่อปลา ต้องระวังการชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ
7. ห้ามเก็บเกี่ยว มันฝรั่ง มะม่วง และองุ่น ภายใน 7 วัน หลังจากพ่นสารครั้งสุดท้าย
8. ห้ามเก็บเกี่ยว พริก และหอมหัวใหญ่ ภายใน 3 วัน หลังจากพ่นสารครั้งสุดท้าย
9. ห้ามเก็บเกี่ยว ข้าว และข้าวโพดหวาน ภายใน 30 วัน หลังจากพ่นสารครั้งสุดท้าย
10. ห้ามเก็บเกี่ยว ลำไย ภายใน 14 วัน

อาการเกิดพิษ : 1. ไม่มีอาการเฉพาะอย่าง ในกรณีกลืนกินเข้าไปอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง

การแก้พิษเบื้องต้น :
1. ถ้าเกิดอาการเป็นพิษเนื่องจากการสูดดม รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้ และให้พักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากอาการไม่ทุเลา รีบไปพบแพทย์
2. ถ้าเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากนาน 15 นาที หากอาการไม่ทุเลา รีบไปพบแพทย์
3. ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจนสะอาด ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที
4. ถ้าเข้าปากให้รีบบ้วนน้ำล้างปาก หากกลืนกิน ห้ามทำให้อาเจียน และ ห้าม ให้น้ำ เครื่องดื่ม หรืออาหารใดๆ ทั้งสิ้น รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมภาชนะบรรจุและฉลาก

คำแนะนำสำหรับแพทย์ :
1. รักษาตามอาการ
2.หากกลืนกินเข้าไปจำนวนมากให้ล้างท้องแล้วตามด้วย activated charcoal 25 g ผสมน้ำ 300 ml และ sorbitol 70% 1-2 ml/kg น้ำหนักตัว (เด็กต่ำกว่า 12 ปีลดขนาดเป็น sorbitol 35% 1.5-2.3 ml/kg น้ำหนักตัว)
Scroll to Top